วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554


   ภาคใต้...   เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด   ลักษณะภูมิประเทศ   เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล
ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล
อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล    อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล


           อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้    มักเกี่ยวข้องกับปลา   และสิ่งอื่น ๆ  จากท้องทะเล    อาหารทะเลหรือปลา
โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด       อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ      โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาด
ไม่ได้เลย       เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก       ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบ
ทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น    และมองในอีกด้านหนึ่ง
คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง


                              





                                 แกงไตปลา                                                                   ผัดสะตอใส่กะปิ                                                      
                                   
                                   ข้าวยำ                                                                             แกงเหลือง       
 
 
 
 
 

ประเพนีของภาคใต้

จารีต ประเพณี ของภาคใต้
http://www.panjantra.com/wp-content/uploads/2009/09/27092007816.jpg
ความสำคัญ

"ชิง เปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วน เท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
ผู้ เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่ อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลาน ลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น


http://img242.imageshack.us/img242/8338/44206680.png




การ ตั้งเปรต และชิงเปรตจะกระทำกันในวันที่ยกหมรับไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวันแรม ๑ ค่ำ หรือ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ ก็ตาม ผู้ตั้งเปรตจะนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปเพื่อการตั้งเปรตด้วย อาหารที่ใช้ตั้งเปรตนี้ส่วนมากเป็นอาหารที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตชอบอย่างละ นิดอย่างละหน่อย ขนมที่ไม่ขาดคือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมเบซำ(ดีซำ) นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว ยังมีของแห้งที่ใช้เป็นเสบียงกรังก็จัดฝากไปด้วย เช่น ข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล น้ำปลา กล้วย อ้อย มะพร้าว ด้าย เข็มเย็บผ้า ธูปเทียน นำลงจัดในหมรับ โดยเอาของแห้งรองก้นและอยู่ภายใน ส่วนขนมทั้งหลายอยู่ชั้นนอก ปิดคลุมด้วยผืนลาทำเป็นรูปเจดีย์ยอดแหลม หรือรูปอื่นแล้วแต่การประดิษฐ์ของผู้จัด ส่วนภาชนะที่ใช้ แต่เดิมนิยมใช้กระเชอหรือถาด นำหมรับ
ที่จัดแล้วไปวัด รวมกันตั้งไว้บน "ร้านเปรต" ซึ่งสร้างไว้กลางวัดยกเสาสูง ต่อมาในระยะหลัง ๆ ร้านเปรตทำเป็นศาลา หลังคามุงจากหรือมุงกระเบื้องแล้วแต่ฐานะของวัด บางถิ่นจึงเรียก "หลาเปรต" บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อมไว้รอบและต่อยาวไปจนถึงพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ใน วิหารที่เป็นที่ทำพิธีกรรม โดยสวดบังสุกุลอัฐิหรือกระดาษเขียนชื่อของผู้ตาย ซึ่งบุตรหลายนำมารวมกันในพิธีต่อหน้าพระสงฆ์ บุตรหลานจะกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปยังเปรตชนที่เป็นบรรพบุรุษ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว เก็บสายสิญจน์ ขนมต่าง ๆ จะถูกแบ่งออกส่วนหนึ่ง พร้อมกับของแห้งไว้ถวายพระ อีกส่วนหนึ่งให้เปรตชนที่พอมีกำลังเข้ามาเสพได้ ในขณะเดียวกันผู้ที่มาร่วมทำบุญทั้งหนุ่มสาว เฒ่าแก่ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเข้าไปรุมกันแย่งขนมที่ตั้งเปรตด้วยความสนุกสนาน เชื่อกันว่า การแย่งขนมเปรตที่ผ่าการทำพิธีแล้วนี้จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และยังเชื่อกันต่อไปว่าขนมเหล่านี้ถ้านำไปหว่านในสวนในนา จะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตสูง โดยเฉพาะขนมเทียน บางแห่งนำไปติดไว้ตามต้นไม้ผลเพื่อให้มีผลดก หลังจากนั้น ก็มักมีผู้ใจบุญโปรยทาน โดยใช้เหรียญสตางค์โดยไปที่ละมากเหรียญ ตรงไปยังฝูงชน ที่เรียกว่า "หว่านกำพรึก" แย่งกันอย่างนุกสนาน




วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตีรภาคใต้

 ทับ

ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า "ลูกเทิง" ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ"

กลองโนรา

    กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า "ลูกสัก" ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว
โหม่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียงและให้จังหวะ เพราะ โนราหรือหนังตะลุง ต้องร้องบทให้กลมกลืนกับ เสียงโหม่งซึ่งมี ๒ ระดับ คือ เสียงทุ้มและเสียง แหลม โดยจะยึดเสียงแหลมเป็นสิ่งสำคัญ เรียกเสียง เข้าโหม่ง ส่วนไม้ตีโหม่งจะใช้ยางหรือด้าย ดิบหุ้มพันเพื่อให้มีเสียงนุ่มเวลาตี
ฉิ่ง เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญต่อการขับบท ของโนราหรือหนังตะลุง ผู้ที่ตีฉิ่งต้องพยาม ตีให้ลงกับจังหวะที่ขับบท สมัยก่อนนิยม ใช้ฉิ่งขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว ส่วนปัจจุบันใช้ฉิ่งขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ ๑.๕ นิ้ว ทำด้วยทองเหลืองชนิด หนา  
 ปี่ 
        
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม ให้เกิดความรู้ สึกเคลิบเคลิ้มและทำให้ผู้แสดงร่ายรำด้วยลีลา ที่อ่อนช้อย ตัวปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ ใช้แก่นไม้บางชนิด เช่น ไม้กระถิน ไม้มะม่วง ไม้ รักป่า หรือไม้มะปริง ส่วนพวกปี่ทำด้วยแผ่น ทองแดงและลิ้นปี่ทำด้วยใบตาล ซึ่งนิยมใช้ใบ ของต้นตาลเดี่ยวกลางทุ่ง เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้ปี่มีเสียงไพเราะ
 
แตระพวงหรือกรับพวง
แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด ๐.๕x ๒ x ๖ นิ้ว นำมาเจาะรูหัวท้าย ร้อยเชือก ซ้อนกันประมาณ ๑๐ อัน ที่แกนหลังร้อยแตระทำ ด้วยโลหะ

 

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เมืองใหญ่ของภาคใต้

เมืองใหญ่ของภาคใต้
  1. เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย
  
   
หาดใหญ่

  1. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทย

    สุราษฎร์ธานี
  2. เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นอันดับที่ 10 ของประเทศไทย

    นครศรีธรรมราช
  3. เทศบาลนครภูเก็ต เป็นอันดับที่ 16 ของประเทศไทย
  4.   

  5. ภูเก็ต
  6. เทศบาลนครสงขลา เป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย

    สงขลา
  7. เทศบาลนครยะลา เป็นอันดับที่ 20 ของประเทศไทย

    ยะลา
  8. เทศบาลนครตรัง เป็นอันดับที่ 22 ของประเทศไทย

    ตรัง
  • อ้างอิงมาจากจำนวนประชากรที่อาศัยในเขตเทศบาล

 ภูมิศาสตร์

 สภาพภูมิประเทศภาคใต้

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาตะนาวศรี ทิวเขากรุงเทพ ทิวเขานครศรีธรรมราช โดยมีทิวเขาสันกาลาคีรี เป็นพรมแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ทิวเขาในภาคใต้มีความยาวทั้งสิ้น 1,000 กิโลเมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง แม่น้ำตรัง แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโกลก
ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรที่มีทะเลขนาบอยู่ 2 ด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเลอันดามัน จังหวัดพัทลุงและจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลภายนอก ชายหาดฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูง มีที่ราบชายฝั่งทะเลยาว เรียบ กว้าง และน้ำตื้น ทะเลอันดามันมีชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง เป็นโขดหิน มีหน้าผาสูงชัน

 สภาพภูมิอากาศ

ภาคใต้เป็นภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน และโดยที่ภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรยาวแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตก และทางด้านตะวันออก จึงทำให้มีฝนตกตลอดปีและเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุดเคยขึ้นสูงสุดที่จังหวัดตรัง 39.7 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเคยต่ำสุดที่จังหวัดชุมพร 12.12 องศาเซลเซียส

 

การแบ่งพื้นที่

การแบ่งพื้นที่

ตามราชบัณฑิตยสถาน


  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. ตรัง
  4. นครศรีธรรมราช
  5. นราธิวาส
  6. ปัตตานี
  7. พังงา
  1. พัทลุง
  2. ภูเก็ต
  3. ยะลา
  4. ระนอง
  5. สงขลา
  6. สตูล
  7. สุราษฎร์ธานี

 แบ่งตามยุทธศาสตร์ ภาคใต้ตอนบนและภาคใต้ตอนล่าง                

 ภาคใต้ตอนบน

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. นครศรีธรรมราช
  4. พังงา
  5. ภูเก็ต
  6. ระนอง
  7. สุราษฎร์ธานี

     ภาคใต้ตอนล่าง

  1. ตรัง
  2. นราธิวาส
  3. ปัตตานี
  4. พัทลุง
  5. ยะลา
  6. สตูล
  7. สงขลา

 

ภาคใต้

   ภาคใต้            เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศ ถัดลงไปจากบริเวณภาคตะวันตก (หรือภาคกลางขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งของแต่ละหน่วยงาน) ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง

  เนื้อหา


  การแบ่งเขตการปกครอง

ภูมิประเทศของภาคใต้เต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่ โดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของภูมิภาค เช่น จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดกระบี่ โดยมีจุดสูงสุดของภาคอยู่ที่อุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช

   ที่ตั้งและอาณาเขต

การละเล่นของภาคกลาง








                            การละเล่นภาคกลาง








ชักเย่ออุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ๆ ละกี่คนก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน เมื่อแบ่งพวกได้แล้วก็ขีดเส้นแบ่งแดน หัวแถว (ถ้าเป็นชายเรียกพ่อหลัก ถ้าเป็นหญิงเรียกแม่หลัก) ของทั้งสองฝ่ายเหยียดแขนจับไม้ยึดแนวขนานกับพื้นทั้งสองมือ ไม้จะนอนขนานกับเส้นแบ่งแดน ลูกน้องของแต่ละฝ่ายเกาะเอวหัวแถวเรียงต่อ ๆ กัน เริ่มเล่นต่างฝ่ายพยายามดึงให้ฝ่ายตรงข้ามหลุดล้ำเข้ามาในแดนตน ฝ่ายใดหลุดล้ำถือเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อแพ้ทั้งสองฝ่ายก็จะเริ่มต้นเล่นเพลงระบำกัน พอจบก็เริ่มชักเย่อกันใหม่

 
 







สะบ้าล้อ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์

-สะ
บ้าตั้ง (สะบ้าแก่น) ซึ่งเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นเถา ชื่อว่า เถาสะบ้า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีฝักยาว ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๕ เซนติเมตร
-สะบ้าล้อ นิยมทำจากไม้เนื้อแข็งประเภทไม้ประดู่ นำมากลึงเป็นรูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร มีลายเป็นเส้นวงกลมซ้อน ๆ กันหลายวง เรียกว่าด้านหงาย ด้านที่เป็นพื้นเรียบ เรียกว่า ด้านคว่ำ

วิธีการเล่นสะบ้าล้อจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ โดยทั่วไปจะประมาณ ๗ คน สนามที่ใช้ต้องเป็นดินอัดแน่นขนาดกว้าง ๗ X ๑๔ เมตร ฝ่ายใดจะเป็นผู้เล่นก่อน-หลัง ขึ้นอยู่กับการตกลงกันก่อนเล่น ผู้เล่นก่อนจะลงมือเล่นไปตามท่าที่กำหนด ผู้เล่นทีหลังจะเป็นผู้เฝ้าดูอยู่ใกล้กับแถวสะบ้าตั้ง ให้ฝ่ายตรงข้ามเล่นไปตามกติกา ท่าที่นิยมเล่นมีอยู่ ๗ ท่า ดังนี้
๑.ท่าล้อนิ่ง นำสะบ้าวางบนมือแล้วล้อไปข้างหน้า เมื่อสะบ้าหยุดล้อ ให้ผู้เล่นเอาส้นเท้าวางบนสะบ้าแล้วหยิบสะบ้าล้อขึ้นมาวางบนเข่าดีดให้ถูกสะบ้าตั้ง
๒.ท่าล้อปากเป่า ทำเช่นเดียวกับท่าล้อนิ่ง แต่ต้องวิ่งตามไปเป่าสะบ้าด้วย เมื่อสะบ้าหยุด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๓.ท่าแพนดีด นำสะบ้าล้อวางบนมือให้ด้านหงายขึ้น ใช้มือทอยไปข้างหน้า สะบ้าหยุดที่ใด ให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๔.ท่าหกโนนดีด ใช้ เท้าทั้ง ๒ ข้างหนีบลูกสะบ้าให้อยู่ระหว่างส้นเท้า โน้มตัวลงเอามือทั้งสองข้าง เท้าพื้น ยกส้นเท้าสะบัดให้สะบ้าข้ามศรีษะไป เมื่อล้อไปหยุดที่ใดให้ดีดเช่นเดียวกับท่าที่ ๑
๕.ท่าหกโนนพ้น ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๔ แต่ต้องทำให้สะบ้าล้อเลยแถวสะบ้าตั้ง
๖.ท่าหนึ่งรองหงาย เอาสะบ้าล้อวางบนพื้นดินให้ด้ายหงายขึ้น หาเศษอิฐ หิน เศษไม้มาหนุนให้มุมด้านใดด้านหนึ่งกระดกขึ้น แล้วใช้นิ้วหัวแม่เท้าทั้ง ๒ ข้างเกี่ยวกัน ดีดสะบ้าไปข้างหน้า ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ให้ถูกสะบ้าตั้งพอดี
๗.ท่าหนึ่งรองคว่ำ ทำเช่นเดียวกับท่าที่ ๖ แต่วางสะบ้าล้อคว่ำ

กติกาการเล่น
.การจองคู่ ตกลงเลือกเล่นก่อน-หลัง โดยโยนสะบ้าหงาย-คว่ำ หรืออื่น ๆ
๒.การตั้งสะบ้า เป็นหน้าที่ของฝ่ายตรงข้ามที่รอเล่น
๓.การใช้คู่ คือการทำแทนเพื่อนที่ยิงสะบ้าตั้งไม่ถูก
๔.การดีดสะบ้าล้อให้ผู้เล่นนั่งบนส้นเท้าของตนเองข้างหนึ่ง เข่าอีกข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือพื้นประมาณ ๑ ฟุต นำสะบ้ามาวางบนเข่าใช้นิ้วดีดให้ถูกลูกสะบ้าตั้งของตนเอง
๕.การทำเน่า หรือ ริบ คือ การที่ผู้เล่นทำผิดกติกา เช่น ยิงสะบ้าตั้งของผู้อื่น ล้อสะบ้าล้อเกิน แถวสะบ้าตั้ง เป็น

 
 


หลุมเมือง
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น

ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนั่งอยู่คนละข้างหลุม (จำนวนหลุมมีไม่จำกัด) ตกลงกันว่าจะกองทุนคนละเท่าใด เอาเบี้ยหรือสิ่งอื่นใช้แทนเบี้ยมารวมกัน แล้วหยอดใส่หลุมไว้หลุมละเท่าๆ กันแต่ หลุมหน้าผู้เล่นทั้งสองต้องมากกว่าหลุมอื่น ซึ่งเรียกว่า หลุมเมือง เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายใดเริ่มก่อนจะหยอดเบี้ยใส่หลุมไปเรื่อยๆ ตามลำดับจนหมดเบี้ย เมื่อหมดเบี้ยในมือก็หยิบเอาเบี้ยในหลุมถัดไปหยอดต่อทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบหลุมว่าง ผู้เล่นคนแรกจึงมีสิทธิกินเบี้ยทั้งหมดในหลุมถัดไป (ถัดจากหลุมว่าง) ผู้เล่นคนที่สองก็จะดำเนินการเล่นเหมือนคนแรก เมื่อพบหลุมว่างและกินเบี้ยหลุมถัดไป จึงผลัดกันเล่นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดทุนเลิกไป ผู้อื่นก็จะมาเล่นแทน

 
 


การแข่งขันวัวลาน
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
วิธีการเล่น
ชาวบ้านจะนำวัวมาวิ่งแข่งกันเป็นวงกลมในลานที่กำหนด โดยมีเสาเกียดซึ่งปักอยู่กลางถนนเป็นศูนย์กลาง ผูกเชือกพรวนของวัวแต่ละตัวเรียงกันตามลำดับ จากในเสาเกียดออกมาถึงริมลาน รวมจำนวน ๑๙ ตัว ซึ่งเจ้าของพวงวัวแต่ละพวงก็จะตระเตรียมวัวของตนมาทั้งวัวนอกและวัวในหรือวัวรอง
วัวรองหรือวัวใน จะมีทั้งหมด ๑๘ ตัว เป็นส่วนใหญ่ เจ้าของพวงวัวจะผูกวัวตามเชือกพรวนจากเสาเกียดกลางลานออกมา ตัวที่ฝีเท้าจัด แข็งแรง จะอยู่ด้านริมเชือกพรวน เป็นตัวที่ ๑๖, ๑๗, ๑๘ เพื่อเอาไว้วิ่งแข่งกับวัวนอกของพวงอื่นที่จะนำมาทาบประกบเป็นตัวที่ ๑๙
วัวนอก คือ วัวตัวที่เจ้าของพวงวัวถือว่าเก่งที่สุด มีกำลังมากและฝีเท้าจัด จะนำมาทาบกับวัวในของพวงวัวอื่น ผูกทับเป็นตัวที่ ๑๙ อยู่นอกสุดของลานเพื่อจะได้วิ่งแข่งกันเอาชนะวัวรองให้ได้ในการแข่งขันแต่ละเปิด ซึ่งแน่นอนว่าวัวตัวนอกสุดที่เรียกว่าวัวนอกนี้จะเป็นวัวที่ต้องวิ่งทำระยะทางไกลที่สุดและมีฝีเท้าจัดที่สุด
ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้แล้วสามารถลากวัวรองตามไปอย่างไม่เป็นขบวนจนดิ้นหลุดขาดไป นั่นหมายถึงวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองวิ่งแซงนำวัวนอกได้วัวรองก็ชนะไป แต่ถ้าไม่สามารถเอาชนะกันได้ก็ถือว่าเสมอ

เครื่องดนตรีไทยภาคกลาง

เครื่องดนตรีไทยภาคกลาง
ซอสามสาย 
    ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี
ซอด้วง      ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย

ซออู้      ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสาย

จะเข้      จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์

ขลุ่ย      ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี

ปี่      ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น) เช่นเดียวกับโอโบ ( Oboe) มีหลายชนิดคือ ปี่นอก ปี่ใน ปี่ กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ ในตระกูลปี่ใน ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง ๖ รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง ๒๒ เสียง และ สามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจนอีกด้วย 

ระนาดเอก      ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ๒๑-๒๒ ลูก ร้อยเข้า ด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง ๒ ไว้บนกล่องเสียงที่เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมี รูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอกทำหน้าที่นำวง ดนตรีด้วยเทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิศดาร มักบรรเลง ๒ แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวม เรียกปี่พาทย์ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจาก ซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของ ลูกระนาด

ระนาดทุ้ม      ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอกแต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็ก น้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก 

ฆ้องวงใหญ่      ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ
        ลูก ฆ้อง : เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มี ลักษณะคล้ายถ้วยกลมๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียง ต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับ ตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อ ถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ
        เรือนฆ้อง : ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว เศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่ เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็น โครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับ เรือนฆ้อง ผูกด้วยเชือกหนังโดยใช้เงื่อนพิเศษ 

ฆ้องวงเล็ก      ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียว กับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือ ทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวง ใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี ๑๘ ลูก

โทนรำมะนา      โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก หนัง ตัวกลองยาวประมาณ ๓๔ เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอกปากบานแบบ ลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้ตีคู่ กับรำมะนา
    รำมะนา : เป็นกลองทำด้วยไม้ขึง หนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๒ เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย

กลองแขก      กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วย มือทั้ง ๒ หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ ( เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงต่ำ)

กลองสองหน้า      กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอกขึง ด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
ลักษณะภูมิประเทศ

  ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบซึ่งเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศเมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง

 บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ

1.  ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณทางตอนใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์และเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขตอำเภอหล่มสักและจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ หินไดโอไรต์ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ

2.  ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงพัดพามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิดสันดอนในแม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้
3.  บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain)
ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอโคกสำโรง เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลต์และหินแอนดีไซต์ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ



แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ โดยราชบัณฑิตยสถาน




แผนที่ภาคกลาง กำหนดตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ



แผนที่ภาคกลาง ระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามา





ภาคกลาง

ภาคกลาง  หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ ในบางบริบท ภาคกลางอาจหมายรวมถึงภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย

เนื้อหา

[ซ่อน]

   การแบ่งพื้นที่

ราชบัณฑิตยสถานได้แบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 6 ภาคตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อย่างเป็นทางการ โดยให้ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 22 จังหวัด (ในกรณีนี้นับรวมกรุงเทพมหานครว่าเป็นจังหวัดโดยอนุโลม) ได้แก่[1]

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กำแพงเพชร
  3. ชัยนาท
  4. นครนายก
  5. นครปฐม
  6. นครสวรรค์
  7. นนทบุรี
  8. ปทุมธานี
  9. พระนครศรีอยุธยา
  10. พิจิตร
  11. พิษณุโลก
  1. เพชรบูรณ์
  2. ลพบุรี
  3. สมุทรปราการ
  4. สมุทรสงคราม
  5. สมุทรสาคร
  6. สระบุรี
  7. สิงห์บุรี
  8. สุโขทัย
  9. สุพรรณบุรี
  10. อ่างทอง
  11. อุทัยธานี

นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว หน่วยงานอื่นยังมีการกำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 10 จังหวัด ได้แก่[1]
  1. กรุงเทพมหานคร
  2. ชัยนาท
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. พระนครศรีอยุธยา
  6. ลพบุรี
  7. สระบุรี
  8. สิงห์บุรี
  9. อ่างทอง
  10. สุพรรณบุรี

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ดิฉัน  นางสาว ผกามาศ  เสริมจิตร  ชื่อเล่น ฟารีด๊ะ/ด๊ะ
ฉันมีพี่น้อง 3 คน
อายุ 16 ปี 
กำลังศึกษาอยู่ มัธยม 5 โรงเรียนคลองเคีลนรัฐราษฎ์รังสรรค์
ต.คลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
คติ   ไม่มีใครมาลิขิตชีวิตเราได้นอกจากตัวเราเอง
คำคม
สามีคือเป้าหมาย ผู้ชายคือทางผ่าน คบเด็กคือนิพพาน  ขึ้นคานคือตายทั้งเป็น